โรคลมองเสื่อม (Dementia)

โรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ เป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด ผ.ป.จะมีการเปลี่ยนแปลงที่มีการถดถอยของเรื่องความจำ (cognitive function) และการทำงานของสมองทำให้ผ.ป.มักจะเสียชีวิตได้ภายใน 7-10 ปีหลังจากเริ่มเป็น ผ.ป. มักจะมีอาการมาหลายปีก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัย จากการศึกษาพบว่าผ.ป.สูงอายุจะเริ่มมีความจำถดถอยอย่างช้าฯมาประมาณ 10 ปีก่อนจะเกิดอาการภาวะสมองเสื่อมชัดเจน โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไชเมอร์จะมีผลกระทบอย่างมากต่อผ.ป.และผู้ดูแลรวมไปถึงมีผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ สังคม ครอบครัวและผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขในภาพรวมและผลกระทบเหล่านื้จะมากขึ้นเรื่อยฯเนื่องจากการที่คนมีอายุยืนยาวที่มากขึ้น ความชุกของโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไชเมอร์จะสัมพันธ์กับอายุโดยจะพบว่ามีความชุกของโรคประมาณ 10% ในคนอายุ 65 ปีและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยฯตามอายุ 40% ในคนอายุ 85 ปี บัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดสำหรับโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไชเมอร์ ความชุกของโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไชเมอร์ ในปี 2000 ประมาณ 4.5 ล้าน คนในสหรัฐอเมริกาป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไชเมอร์ และจะ เพิ่มขึ้นถึง 14 ล้านคน ภายในปี 2050 ความชุกของโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไชเมอร์จะเพิ่มเป็นสองเท่าในทุกห้าปี พบมากในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย สะท้อนให้เห็นถึง การมีอายุยืนยาวมากขึ้นของผู้หญิง ในประเทศไทย มีความชุก ของภาวะสมองเสื่อม เป็น 1.8 % -2.35 % สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะสมองเสื่อมในผ.ป.สูงอายุคือ โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไชเมอร์ (Alzhiemer’s dementia, … Continue reading โรคลมองเสื่อม (Dementia)